เมนู

อวิชชานุสัย ดังพรรณนามาฉะนี้. นี้เป็นวินิจฉัยกถาในปริจเฉทวาระ
ปริจฉินนุทเทสวาระ อุปปัตติฏฐานวาระก่อน.

มหาวาระ 7


ก็ในอนุสยวาระที่หนึ่งแห่งมหาวาระ 7 คำใดที่กล่าวไว้ว่า
กามราคานุสัย กำลังนอนเนื่องแก่บุคคลใด ปฏิฆานุสัยก็กำลัง
นอนเนื่องแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม
ดังนี้ ตอบรับคำว่า อามนฺตา
แปลว่า ใช่ ดังนี้ คำนั้น ย่อมปรากฏราวกะว่าให้คำตอบที่ไม่ดี.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะกามราคะและปฏิฆะไม่เกิดในขณะเดียวกัน
เหมือนอย่างว่ามนายตนะ ธัมมายตนะ กายสังขาร วจีสังขาร ย่อม
เกิดขึ้นในขณะเดียวกันในคำว่า มนายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด
ธัมมายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม
ดังนี้.
ท่านตอบรับว่า ใช่ ( อามนฺตา) ในขณะแห่งการเกิดขึ้น
แห่งอัสสาสะ ปัสสาสะ กายสังขารของบุคคลเหล่านั้นกำลัง
เกิดขึ้น วจีสังขารของบุคคลเหล่านั้นก็กำลังเกิดขึ้น
เป็นต้น
ฉันใด กามราคะ และปฏิฆะ ย่อมเกิดฉันนั้นหามิได้. เพราะกามราคะ
ย่อมเกิดในโลภสหคตจิตตุปบาท 8 ดวง ส่วนปฏิฆะย่อมเกิดใน
โทมนัสสหคตจิตตุปบาท 2 ดวง
ด้วยประการฉะนี้ ความเกิดขึ้น

ในขณะเดียวกันของธรรมเหล่านั้น ( กามราคะ ปฏิฆะ ) จึงไม่มี
เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทำคำปฏิเสธในที่นี้ว่า โน ดังนี้. ก็ในที่นี้
ท่านไม่ถือเอาโวหารอันกำลังเป็นไป ด้วยสามารถแห่งปัจจุบันขณะราวกะ
ในยมกทั้งหลายในหนหลัง เพราะเนื้อความนั้นไม่ปฏิเสธ ก็ต้องตอบ
รับรองว่า อามนฺตา ดังนี้ จึงควรถือเอาโดยประการอื่น ๆ.
ถามว่า ควรถือเอาด้วยอาการอย่างไร ?
ตอบว่า ด้วยสามารถแห่งกิเลสที่ละไม่ได้.
จริงอยู่ โวหารที่กำลังเป็นไปว่า อนุเสติ นี้ ท่านกล่าวหมาย
เอากิเลสที่ยังละไม่ได้. มิได้หมายเอาความเป็นปัจจุบันขณะ. เพราะ
ท่านกล่าวหมายเอากิเลสที่เป็นสภาวะที่ละไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ
เนื้อความอย่างนี้ว่า กามราคานุสัย อันบุคคลใดยังละไม่ได้ แม้
ปฏิฆานุสัยของบุคคลนั้นก็ยังละไม่ได้ จึงเป็นสภาวะให้ถึงความ
เป็นธรรมนอนเนื่อง ในคำปุจฉาว่า กามราคานุสัย กำลังนอนเนื่อง
แก่บุคคลใด ปฏิฆานุสัยก็กำลังนอนเนื่องแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม

ดังนี้.
อนึ่ง ในอนุสัยเหล่านั้น อนุสัยหนึ่งอันบุคคลใดยังมิได้ละ
อนุสัยนอกนี้ของบุคคลนั้นก็ยังละไม่ได้ นั่นแหละ ฉะนั้น จึงกล่าวว่า
อามนฺตา ดังนี้. ผิว่า คำใดท่านรับรองว่า อามนฺตา ในอุปปัชชนวาระ
ข้างหน้า เพราะคำถามอย่างนี้ว่า กามราคานุสัย กำลังเกิดแก่บุคคล

ใด ปฏิฆานุสัย ก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม ดังนี้. ในข้อนี้
พึงถือเอาเนื้อความอย่างไร แม้ในข้อนั้น ท่านก็ถือเอาด้วยสามารถ
แห่งการที่กิเลสนั้นยังละไม่ได้ ก็หรือ ครั้นเมื่อปัจจัยคือการเกิดขึ้นมีอยู่
ก็พึงถือเอาด้วยสามารถแห่งการไม่ปฏิเสธความเกิด.
เหมือนอย่างว่า ช่างเขียนเป็นต้น เริ่มจิตกรรมมีการวาดเขียน
เป็นต้น เมื่อการงานยังไม่เสร็จ ถูกมิตรสหายเป็นต้นถามว่า ท่านทำ
อะไรในวันเหล่านี้ที่เราเห็นแล้ว ๆ แม้ในขณะที่ยังไม่ทำการงานเหล่านั้น
ก็ย่อมกล่าวว่า เรากำลังทำจิตกรรม กำลังทำกัฏฐกรรม แม้ขณะนั้น
ไม่ได้ทำจิตกรรมเป็นต้น ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ชื่อว่า กำลังทำอยู่
นั่นแหละ เพราะอาศัยขณะที่ทำแล้ว และขณะที่ควรจะที่ต่อไป ฉันใด
อนุสัยทั้งหลายในสันดานใดที่ยังละไม่ได้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ก็หรือว่า
เมื่อปัจจัยให้เกิดอนุสัยเหล่านั้นมีอยู่ในสันดานใด การเกิดขึ้นแห่งอนุสัย
เหล่านั้นอันธรรมดามิได้ห้ามไว้ ในข้อนั้นบัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่ง
อนุสัย แม้ในขณะที่ยังไม่เกิดขึ้น อย่างนี้ว่า กามราคานุสัยกำลัง
เกิดขึ้นแก่บุคคลใด เพราะอาศัยกาลที่เคยเกิดแล้วด้วย และจะ
เกิดขึ้นในกาลอื่นด้วย ปฏิฆานุสัยของบุคคลนั้น ก็ชื่อว่า กำลัง
เกิดขึ้นนั่นแหละ
ดังนี้ ในการวิสัชนาแม้อื่นจากนี้ก็ดี ที่มีรูปอย่างนี้
ก็ดี ก็นัยนี้แหละ.
คำว่า โน จ ตสฺส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะ
ความที่กามราคะและพยาบาทเป็นสภาวะ อันพระอนาคามีละได้แล้วโดย

ไม่เหลือ.
คำว่า ติณฺณํ ปุคฺคลานํ ได้แก่ ปุถุชน พระโสดาบัน และ
พระสกทาคามี.
คำว่า ทฺวินฺนํ ปุคฺคลานํ ได้แก่ พระโสดาบัน และพระ-
สกทาคามี. ในฐานะทั้งหลายที่มีรูปอย่างนี้แม้ข้างหน้า ก็นัยนี้แหละ.
ในคำถามที่หนึ่งและที่สองแห่งโอกาสวาระ ท่านทำการ
ปฏิเสธว่า โน ดังนี้ เพราะกามราคานุสัย ย่อมนอนเนื่องในเวทนา 2
แห่งกามธาตุ ปฏิฆานุสัยย่อมนอนเนื่องในทุกขเวทนา ฉะนั้น จึง
ปฏิเสธว่า โน.
ในคำถามที่ 3 ท่านกล่าวรับรองว่า อามนฺตา เพราะการ
นอนเนื่องแม้แห่งธรรมทั้งสองในเวทนาทั้งสองแห่งกามธาตุ ฐานะคือ
ที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งมานานุสัยในรูปธาตุ อรูปธาตุกับด้วยกามราคานุสัย
นั้นเป็นที่ที่ไม่ทั่วไป เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า " อนึ่ง กามราคานุสัย
ย่อมไม่นอนเนื่องในรูปธาตุนั้น "
ดังนี้. โดยนัยนี้ บัณฑิตพึงตรวจดู
วาระว่าด้วยที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งอนุสัยทั้งปวง แล้วจะพึงทราบที่เป็นที่
เกิดขึ้นแห่งอนุสัยทั้งปวง แล้วจะพึงทราบที่เป็นที่เกิดขึ้นอันเป็น
สาธารณะ และอสาธารณะ.

ในคำถามที่มีมูล 2 เพราะกามราคานุสัย ย่อมไม่เกิดในที่
เดียวกัน และย่อมไม่ทำธรรมหนึ่งให้เป็นอารมณ์ ฉะนั้น จึงทำปฏิเสธ
ว่า นตฺถิ ดังนี้. ก็ในที่นี้พึงทราบว่า อนุสัยทั้ง 2 เหล่านี้ พึงนอน
เนื่องในที่ใด ที่นั้นย่อมไม่เป็นที่ ๆ เดียวกัน เพราะฉะนั้น คำถามนี้ว่า
มานานุสัย ย่อมนอนเนื่องในที่นั้น ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมไม่เป็นคำ
ปุจฉาเลย. ในอนุสัยแม้อื่น ๆ ที่มีรูปอย่างนี้ ก็นัยนี้แหละ.
คำว่า จตุนฺนํ ในปุคคโลกาสวาระ ได้แก่บุคคล 4 จำพวก
คือ ปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี.
ในปฏิโลมนัย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาเนื้อความนี้แล้ว
จึงตรัสถามว่า กามราคานุสัย ย่อมไม่นอนเนื่องแก่บุคคลใด เป็นต้น.
ทรงถือเอาพระอนาคามีและพระอรหันต์ จึงตรัสถามว่า กามราคานุสัย
ย่อมไม่นอนเนื่องแก่บุคคลทั้งสองในภูมิทั้งปวง
ดังนี้. บัณฑิต
พึงถือเอา กามาวจรธรรมแม้ทั้งหมดอันสัมปยุตด้วยเวทนา ในพระบาลี
ว่า กามธาตุยา ตีสุ เวทนาสุ ดังนี้บ้าง และถือเอาวัตถุและอารมณ์
แห่งธรรมเหล่านั้นบ้าง.
อนุสยวารกถา จบ

สานุสยวารกถา


ก็ใน สานุสยวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า โย กามราคา-
นุสเยน สานุสโย
นี้ อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีอาพาธด้วย
โรคอย่างใดอย่างหนึ่งมีโรคชราอันแน่นอนเป็นต้น ตราบใดโรคทั้งหลาย
ยังไม่พ้นไปจากบุคคลนั้น ผู้นั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีโรค แม้ในขณะ
แห่งโรคนั้นยังไม่เกิด ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น อนุสัยทั้งหลายแห่งสัตว์
ผู้มีปกติไปตามวัฏฏะ ผู้มีกิเลสยังไม่ถึงการถอนขึ้นด้วยอริยมรรคเพียง
ใด แม้ในขณะที่อนุสัยทั้งหลายยังไม่เกิดขึ้น เขาก็ชื่อว่า เป็นผู้เป็นไป
กับด้วยอนุสัย คือ มีอนุสัยนั่นแหละ เพราะอาศัยความที่สัตว์เป็นผู้มี
อนุสัยเห็นปานนี้ จึงรับรองด้วยคำว่า อามนฺตา ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้
เช่นกับอนุสยวาระนั่นแหละ.
ก็ใน โอกาสวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รูปธาตุยา
อรูปธาตุยา เอตฺถ มานานุสเยน สานุสโย
อธิบายว่า ในธาตุ
ทั้งหลายเหล่านั้น ความที่บุคคลเป็นไปกับด้วยอนุสัย คือ มีอนุสัย พึง
ปรากฏ แต่ที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งอนุสัยไม่พึงปรากฏ ก็เพื่อแสดงที่เป็นที่
เกิดขึ้นแห่งอนุสัยนั้น พระองค์จึงเริ่มวาระนี้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า
มานานุสเยน สานุสโย เป็นต้นจากวาระนั้น ฯ ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น จึง
ตรัสว่า บุคคลผู้เป็นไปกับด้วยมานานุสัย คือ มีมานานุสัย เกิดขึ้น
แต่ธาตุทั้งสองนั้น
ดังนี้. ก็เมื่อพระองค์ไม่ตรัสอรรถแห่งปัญหาแรก